วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การปลูกถั่วฝักยาวปลอดสาร 

การปลูกถั่วฝักยาวปลอดสาร 


        ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูก คือดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิดในดิน
การเตรียมดิน
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีระบบรากละเอียดต่อการเตรียมดินที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์และสม่ำเสมอ ขั้นตอนแรกให้ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิดในดิน เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงให้หมด จากนั้นจึงไถคราด ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
การยกร่อง
สำหรับถั่วฝักยาวนั้น ปกติจะยกร่องกว้างประมาณ 1เมตร (ความยาวดูตามความเหมาะสมกับสภาพแปลง) และเตรียมร่องระหว่างแปลงสำหรับเข้าไปปฏิบัติงาน กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร
 การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก/การปลูก
การปลูกถั่วฝักยาวในเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัมนำเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอก คัดเมล็ดที่มีตำหนิออก และควรคลุกเมล็ดด้วยไตรโคเดอร์มาเชื้อสด เพื่อป้องกันเชื้อรา และโรครากเน่าโคนเน่า ใช้จอบขุดหลุมให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. ระยะระหว่างหลุม 50 ซม. โดยให้หลุมลึกประมาณ 4 นิ้ว หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด แล้วกลบดินให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำทันที หลังจากถั่วฝักยาวแตกใบจริง 1 อาทิตย์ ให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักปลาร้า (ภาพล่าง)ผสมกับน้ำหมักหน่อกล้วย
 การดูแลรักษา
- การให้น้ำระยะ 1-7 วัน ควรให้ทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ และสภาพดินด้วย หลังจากหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก
- ต้นกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 4 ใบ ถอนแยกต้นกล้าให้เหลือต้นแข็งแรงไว้ 2 ต้นต่อหลุม ขณะที่ถอนแยกให้พรวนดินและกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้วัชพืชมาแย่งน้ำ และอาหารจากถั่วฝักยาว
-จากนั้นให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป ระยะเจริญเติบโตหลังจากถอนแยกแล้วควรให้น้ำทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ระบบการที่ใช้ในสวนจะเป็นระบบน้ำหยด ซึ่งมีข้อดีตรงที่ประหยัดน้ำ เนื่องจากพื้นที่สวนของคุณพัฒนาค่อนข้างจะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
  
การทำค้าง
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อเกาะพยุงลำต้นให้เจริญเติบโต ไม้ที่ใช้สำหรับทำไม้ค้างนั้นใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยการสร้างโครงเสาแล้วใช้ไม้ไผ่พาดด้านบน และใช้เชือกห้อยลงมายังลำต้นถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้น ระยะเวลาการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา
 การบำรุงโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ
- เมื่อมีใบประมาณ 2 ใบ ให้ฉีดพ่นบำรุงด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วยให้ทั่ว
- หลังจากถั่วฝักยาวแตกใบจริง 1 อาทิตย์ ให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักปลาร้าผสมกับน้ำหมักหน่อกล้วย
- หลังจากที่ปลุกประมาณ 3 เดือน ให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนนม เพื่อเร่งดอก อัตรา 80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการออกดอก ฉีดติดต่อกันจนกว่าถั่วจะออกดอก ระยะเวลาในการฉีดพ่น ประมาณ 7 วัน/ครั้ง
- เมื่อถั่วเริมออกดอก ให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนนม ผสมกับฮอร์โมนไข่ ผสมกับน้ำ อัตรา 80 ซีซี:80ซีซี:20 ลิตร ฉีดติดต่อกันจนกว่าถั่วจะติดผล ระยะเวลาในการฉีดพ่น ประมาณ 7 วัน/ครั้ง
 -ช่วงถัวฝักยาวติดผลให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักหมักรวม (ฮอร์โมนนม+ฮอร์โมนไข่+น้ำหมักผลไม้+น้ำหมักปลาร้าอัตรา 40:40:40:40 ซีซี /น้ำเปล่า 20 ลิตร) ฉีดติดต่อกัน 3-4 วันครั้งจนกว่าจะเก็บผลผลิต
-ถ้าช่วงไหนพบแมลงศัตรูพืช ก็จะฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ เพื่อป้องกันกำจัดแมลง อัตรา 60 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
-หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 50-60 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ให้เลือกเก็บฝักขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไปถั่วฝักยาวปลอดสารพิษ ฝักจะอวบ น่ารับประทาน อีดทั้งปลอดภัย ไม่มีพิษภัยต่อรางการแน่นอน ซึ่งในการปลูกแต่ละรอบสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน
 การเก็บผลผลิต
ควรเก็บช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เก็บเสร็จถ้าให้ถั่วโดนแดด เพราะจะทำให้ฝักเหี่ยวหรือฝ่อเร็ว dการเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง ซึ่งสามารถเก็บติดต่อกันได้ประมาณ เดือนครึ่ง ปีหนึ่งคุณพัฒนาสามารถปลูกถั่วได้ประมาณ 6 ครั้ง ครั้งละ 2 งาน ขายตลาดในชุมชน และตามตลาดนัด ผลผลิตที่ได้ประมาณ 1.6 ตัน/ครั้ง

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การปลูกบวบเหลี่ยม

การปลูกบวบเหลี่ยม


การปลูกและการดูแลรักษา
           การเตรียมดิน ขุดดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดินโดยเฉพาะดินทรายและดินเหนียวต้องใส่ให้มาก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

        
ระยะปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม
            คือ ระยะห่างระหว่างต้น 75 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 100 ซม. การปลูกให้หยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงลงในแปลงหลุมละ 4-5 เมล็ด ฝังให้ลึกลงไปในดินประมาณ 2-4 ซม. จากนั้นกลบเมล็ดด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอกหนาประมาณ 1 ซม. รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เมื่อต้นกล้างอกอายุได้ประมาณ 10-15 วันหรือมีใบจริง 2-4 ใบ ให้ถอนแยกต้นที่อ่อนแอหรือต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้หลุมละ 2 ต้น
การทำค้าง
        ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นไปก่อนการปลูกหรือเมื่อบวบเหลี่ยมเริ่มเลื้อยหรือเมื่ออายุประมาณ 15-20 วัน การปลูกแบบปล่อยให้ต้นเลื้อยไปตามพื้นดินโดยไม่ทำค้างหรือร้าน จะทำให้ผลบวบมีรูปร่างงอโค้งไม่สวย ไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ ทำเป็นร้านโดยใช้ไม้ค้างผูกเป็นร้านสูงประมาณ 1.5-2เมตร หรือระยะสูงพอเหมาะที่สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว แล้วนำลวดมาผูกบนค้างระยะห่างประมาณ 70 ซม.แล้วนำไม้มาปักที่หลุมให้บวบเกาะไม้ขึ้นไปบนร้าน



การดูแลรักษา
     การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้บวบเหลี่ยมขาดน้ำในระยะออกดอกและติดผล เพราะทำให้ดอกร่วงและไม่ติดผล

   การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกในตอนปลูกโดยใช้รองก้นหลุมและปุ๋ยยูเรียเมื่อบวบอายุประมาณ 20-30 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนดินกลบหลังจากนั้นก็ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพทุก 7-15 วัน

     การเก็บเกี่ยว
            อายุการเก็บเกี่ยวของบวบเหลี่ยมประมาณ 45-60 วันหลังจากหยอดเมล็ด ควรเลือกเก็บเกี่ยวผลขณะที่ยังอ่อนอยู่ เนื้อผลอ่อนนุ่มได้ขนาดพอเหมาะ ซึ่งผลจะมีขนาดยาวประมาณ 60-70 ซม. ควรเก็บเกี่ยวก่อนที่ผลเริ่มแข็งและพองออก ไม่ควรทิ้งให้ผลแก่คาติดต้น เพราจะทำให้ผลผลิตลดลง

                                              
                                          **เทคนิคการทำให้ผลบวบสวยและตรง**
          เมื่อผลมีขนาดยาวประมาณ 15-20 ซม. ให้ใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังขนาด 150 cc. ผูกห้อยกับด้านปลายของผลบวบให้ขวดเป็นตัวดึงผลบวบให้ตรงและผูกไว้จนบวบเก็บเกี่ยวได้ (อาจจะใช้ถุงใส่ดินผูกก็ได้แต่ควรมีน้ำหนักใกล้เคียงกับขวดเครื่องดื่มชูกำลังขนาด 150 cc.)






วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การปลูกข้าวโพดหวาน

การปลูกข้าวโพดหวาน




    
  ข้าวโพดหวาน 
               อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป

ฤดูปลูก
               ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน

อุณหภูมิที่เหมาะสม
               อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง


การเตรียมแปลงปลูก
               การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ

การปลูกข้าวโพดหวาน
      ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที



การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน
การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
 การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
 การใ้หน้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
 การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
 การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล













         
การเก็บเกี่ยว
         การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ข้าวโพดหวานมคุณภาพดีหรือเลว ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานเพื่อส่ง โรงงานหรือจำหน่ายฝักส ควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม(Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือนับอายุ หลังจากวันหยอดเมล็ด วิธีการนี้ต้องทราบอายุของข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์หนัก, เบา หรือปานกลาง เช่นพันธุ์เบา อายุ 55-65 วัน พันธุ์ปานกลาง 70-85 วัน และพันธุ์หนักตั้งแต่ 90 วันขึ้นไปเก็บสุ่มตัวอย่างในแปลงมาตรวจดู วิธีนี้แน่นอน และนิยมกระทำกันมากที่สุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ควรเก็บเกี่ยวในเวลา เช้าตรู่และรีบส่งตลาดทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำตาลลดลง











วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การปลูกและการดูแลรักษามันสำปะหลัง

การปลูกและการดูแลรักษามันสำปะหลัง

              มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี โดยมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม อีกร้อยละ 20 ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 13 จะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม สำหรับการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนนี้ ผลผลิตหัวสดที่ได้จะสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ในดินที่มีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ การปลูกในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกช่วงการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำฝน และลักษณะของดิน


การเตรียมดิน
มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ในดินทั่วไปตั้งแต่ดินเหนียวถึงดินทรายแต่จะให้ผลผลผิตสูงในดินเนื้อหยาบ และดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลุกในดินที่ชื้นแฉะเพราะหัวมันจะเน่าเสียได้ง่ายและมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิ สูง การเตรียมดินควรไถ 2 ครั้ง ด้วยผาน 3 และผาน ไถลึกประมาณ 8-12 นิ้ว โดยไถกลบมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในฤดูเพาะปลูกที่ผ่านมา สำหรับพื้นที่ปลูกทีลาดเอียง การไถควรขวางทิศทางของความลาดเอียง เพื่อลดการสูญเสียหน้าดิน และพื้นที่ปลูกที่มีน้ำท่วมขัง ก็ควรทำร่องระบายน้ำและยกร่องปลูก

การเตรียมท่อนพันธ์ุ
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ขยายด้วยลำต้น โดยอายุของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 8-12 เดือน ซึ่งเมื่อนำไปปลูกจะมีเปอร์เซนต์อยู่รอดถึง 90-64 เปอร์เซนต์ ขนาดความยาวของท่อนพันธุ์ ประมาณ 20-25 เซนติเมตร มีจำนวนตาประมาณ 10 ตาขึ้นไปต่อ 1 ท่อนพันธุ และต้นพันธุ์ที่ตัดมานั้น หากยังไม่นำไปปลูกเลยก็ควรตั้งกองไว้ในที่ร่มมีแดดผ่านได้เล็กน้อย และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 7-15 วัน เพราะคุณภาพของท่อนพันธุ์จะเสื่อมและอัตราการงอกจะลดลงได้

ระยะปลูก
ระยะปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 60×60 เซนติเมตร จนถึง 120×120 เซนติเมตร โดยระยะ 100×100 เซนติเมตรจะมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเกษตรกรมีการใช้เครื่องทุ่นแรง ระยะปลุกระหว่างแถวxต้น อาจใช้ 120x 80 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรง


วิธีการปลูก
วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี 2 วิธี คือ
1. การปลูกแบบนอน
2.การปลูกแบบปัก
โดยการปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแบบนอน เนื่องจากมันสำปะหลังจะงอกได้เร็วกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อมและกำจัดวัชพืช การปลุกแบบปักสามารถปลูกได้ทั้งปักตรงและปักเอียง โดยปักลึกลงไปในดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมากเมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้<ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-8-16ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง๐ละเท่าๆกัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีแล้ว เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยพืชสด โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบในระยะก่อนออกดอก หรือปลูกพืชแซมที่ช่วยบำรุงดินปลูกระหว่างแถว เพื่อช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกวิธีหนึ่งการกำจัดวัชพืช เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากการปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับมันสำปะหลังโดยไม่กำจัดเลย จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 25-50 เปอร์เซนต์ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 30 และ 60 วันตามลำดับ และควรมีการกำจัดเพิ่มเติม ถ้าหากยังพบว่ามีวัชพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น โดยระบบการจัดการวัชพืชในแปลงปลูกมันสำปะหลัง มี 4 ระบบ คือ
ระบบที่1
วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าวัชพืช คือ ทำการไถพรวนโดยใช้รถไถเล็กเดินตามหรือแรงงานสัตว์เข้าไปกำจัดวัชพืชที่ขึ้นมาแล้ว หลังจากนั้นรอจนวัชพืชขึ้นมาใหม่อีกรุ่นหนึ่งจึงฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืช ประเภททำลายโดยวิธีสัมผัส ทั้งนี้ต้องมีครอบกันละอองและมันสำปะหลังควรสูงประมาณ 70-80 เซนติเมตร ระบบนี้ เหมาะสำหรับการปลูกเมื่อมีฝนน้อย ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม


ระบบที่ 2
วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมผสมกับประเภทฆ่าวัชพืช ระบบที่ 2 นี้ เหมือนกับ
ระบบที่ 1 ในขั้นตอนไถพรวน 1-2 ครั้ง แล้วฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชชนิดเดียว ประเภทคุมวัชพืชหรือใช้ 2 ชนิดผสมกัน คือ ประเภทคุมและประเภทฆ่าวัชพืช โดยมีครอบกันละออง และมันสำปะหลังควรสูงเกิน 70 เซนติเมตร ระบบที่ 2 นี้ จะเหมาะสำหรับการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในช่วงที่มีฝนตกชุก


ระบบที่3
วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมวัชพืชตามด้วยวิธีเขตกรรม เป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับช่วงการปลูกมัน
สำปะหลังที่มีฝนตก โดยฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกมันสำปะหลัง จากนั้นเมื่อวัชพืชขึ้นมาแล้ว ให้ใช้วิธีกำจัดด้วยจอบเฉพาะจุด โดยระบบนี้ควรปลูกด้วยระยะต้นห่างกัน 0.5-0.8 เมตร


ระบบที่4
วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าเมื่อปลูกด้วยท่อนพันธุ์ยาวและใช้ระยะปลุกถี่ โดยใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังยาว 50 เซนติเมตร หลังจากที่มันสำปะหลังงอกขึ้นมาแล้วสูงเกิน 70 เซนติเมตร ให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือฆ่าวัชพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีครอบกันละอองเพื่อป้องกันอันตรายต่อต้นมันสำปะหลังโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ