วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย
ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
               สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็วและต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์ด้วยการใช้เทคนิคของการเลี้ยงจากชิ้นตาพืชให้พัฒนาเป็นต้นโดยตรง และมีขนาดสม่ำเสมอ จึงให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้คราวละมากๆ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
              คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมากและตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกเรื่อง กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่และปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย กล้วยเป็นพืชที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ทำการคัดสายพันธุ์กล้วยที่มีคุณภาพดีเพื่อนำมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและส่งเสริมแก่เกษตรกรที่มีความต้องการปลูกกล้วยพันธุ์ดี มีความต้านทานโรค รสชาติดีและให้ผลผลิตได้อย่างพร้อมเพรียงกัน
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1.เตรียมอาหาร
2. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมาก
3. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
4. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
5. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 -15 นาที
6. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง
7. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์ 
8. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี รหัส แล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป 
การขยายพันธุ์กล้วย
1.การแยกหน่อ โดยการขุดแยกหน่อที่แทงจากต้นแม่ขึ้นมาขยายพันธุ์ต่อ
              2. การผ่าหน่อ โดยการขุดหน่อที่มีอายุประมาณ 2-3 เดือน นำมาผ่าออกเป็น 4-6 ชิ้นต่อหน่อแล้วนามาเพาะในวัสดุเพาะชำ
             3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์ที่สามารถทำให้ได้ต้นกล้าจำนวนมาก การคัดเลือกต้นพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อควรมีลักษณะที่ดี แข็งแรง ต้านทานโรคแมลงรบกวน ลูกโต จำนวนหวีต่อเครือมาก เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีตามต้องการและจำนวนมากคุ้มค่าต่อการลงทุนโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน นับตั้งแต่นำหน่อเข้าห้องปฏิบัติการ เมื่อได้ต้นกล้าตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จึงนำออกมาอนุบาลภายในโรงเรือนประมาณ 60 วัน
การปลูกและการดูแลรักษา
1. ควรเตรียมหลุมปลูก กว้างxยาวxลึก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น
2. ระยะการปลูก กล้วยน้ำว้าใช้ระยะ 3x3 เมตร จะปลูกได้ 200 ต้นต่อไร่ แต่กล้วยหอมทองใช้ระยะ 2x2 เมตร ปลูกได้ 400 ต้นต่อไร่
3. การให้น้ำในระยะแรกควรให้น้ำวันเว้นวัน หลังจากกล้วยสามารถตั้งตัวได้แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4. การใส่ปุ๋ย ในระยะแรกนิยมใช่ปุ๋ยคอกและหลังจากการปลูกได้ 2 เดือน จึงใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 60 กรัมต่อต้น ทุกเดือนหลังจากกล้วยออกปลีแล้ว จะใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 500 กรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังจากครั้งแรก 1 เดือน
5. การกำจัดวัชพืช สามารถกาจัดได้หลายวิธี คือ
-วิธีกล ได้แก่การถอน ตายหรือการถากด้วยจอบ ควรทาการกาจัดก่อนที่วัชพืชจะออกดอก
-วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซมที่มีระบบรากตื้นและสามารถ ใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้ เช่นพืชตระกูลถั่ว
-ใช้วิธีคลุมดินโดยคลุมหน้าดินด้วยใบกล้วยหลังการตัดแต่งใบ ใช้ฟางข้าวคลุมตั้งแต่เริ่มปลูก
6. การตัดแต่งหน่อ หลังจากการปลูกกล้วยได้ 3-4 เดือนให้ตัดหน่อทิ้งจนกว่ากล้วยจะเริ่มออกปลีหลังจากกล้วยมีอายุ 7 เดือน จึงเริ่มไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่และที่ 2 ควรมีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ตรงข้ามกัน หากหน่อที่ตัดมีขนาดใหญ่มาก ให้ใช้วิธีการทำลายโดยหยอดน้ำมันก๊าดลงบนหยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา
7. การตัดแต่งใบจะเริ่มตัดแต่งใบ ในช่วงกล้วยอายุประมาณ 5 เดือน หลังจากการปลูกโดยเลือก ตัดใบที่แก่เป็นโรคออกให้เหลือ 9-12 ใบ/ต้น
8. การตัดปลี ให้ทาการตัดปลีกล้วยทิ้งหลังจากปลีบานต่อไป จนหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว
9. การค้ากล้วย นิยมค้าในกล้วยหอมเป็นส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันการหักกลางลาต้น หลังจากการตกเครือ ควรค้ำ บริเวณเครือหรือใช้ไม้ดามลาต้นโดยตรง

















วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

พริกหวาน

             พริกหวาน



    พริกหวาน จัดอยู่ในตระกูล Solanaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum annuum เช่นเดียวกับมะเขือเทศ ยาสูบ และมันฝรั่ง เป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกฤดูเดียว ในระยะแรกพืชจะ เจริญเป็นลำต้นเดียว หลังจากติดดอกแรกตรงยอดของลำต้นเดียว จะแตกกิ่งแขนงในแนว ตั้งอีกสองกิ่ง เมื่อกิ่งแขนงมีดอกเจริญที่ปลายกิ่ง จะเกิดกิ่งแขนงเจริญเป็นสองกิ่ง ทำให้จำนวนกิ่ง เพิ่มขึ้น ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่ง และจำนวนผลต่อต้น โดยทั่วไปต้นจะสูง 0.5-1.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เจริญสลับกัน ลักษณะดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ สามารถเจริญได้ทั้งในสภาพ ช่วงแสงสั้น หรือช่วงแสงยาว เป็นพืชผสมตัวเอง แต่อาจมีโอกาสผสมข้ามโดยธรรมชาติสูง

สภาพแวดล้อมการปลูก พริกหวาน (Sweet Pepper)

พริกหวาน ชอบสภาพที่มีความชื้นต่ำ จะทำให้อัตราการติดผลลดลง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 20-25′C มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ใสสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า 18′C หรือสูงกว่า 32′C จะจำกัดการผสมเกสร อัตราการติดผลต่ำ พริกหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี และมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร พริกหวาน


พริกหวาน มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลือง ส้ม และสีช็อคโกแลค มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน มีคุณค่าทางวิตามิน A, B1, B2 และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง
การปฏิบัติดูแลรักษา พริกหวาน ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า ทำการยกแปลงขนาด 1 ม. ย่อยดินให้ละเอียด แปลงห่างกัน 70 ซม. ร่องลึกประมาณ 10 ซม. ทำขวางแปลงความห่างระหว่างร่อง 10 ซม. รองพื้นด้วยไตรโคเดอร์ม่า หว่านเมล็ดแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก หลังจาก 7-10 วัน ย้ายกล้าลงในหลุม
การเตรียมดิน ขุดดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดิน แล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยสูตร 0-4-0 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมด์อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.
การปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมคลุกเคล้ากัน ควรใส่โดโลไมด์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.

การให้น้ำและปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้

ระยะที่ 1 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
ระยะที่ 2 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า
ระยะที่ 3 ปุ๋ย 0-0-51 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-10-30 5 ส่วนน้ำหนัก
หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า

การเก็บเกี่ยวพริกหวาน    

 พันธุ์สีเขียวเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตผิวเรียบ และแห้ง ใช้กรรไกรตัดตรงขั้ว พันธุ์สีแดงและเหลือง เก็บเกี่ยววิธีเดียวกับพันธุ์สีเขียว แต่เก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญ พริกหวาน Sweet Pepper, Bell Pepper, Capcicum, ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคไวรัส, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเจริญเติบโต 50-60 วัน แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเก็บเกี่ยว 9-100 วัน แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว, แมลงวันแตง,

http://www.vegetweb.com/พริกหวาน/

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

แคนตาลูปในกระถาง

แคนตาลูปในกระถาง 



ดิน
        รองพื้นกระถางด้วยใบไม้แห้ง เถาแตงหรือซากวัชพืชย่อยสลายง่ายหลีกเลี่ยงใบมะม่วง (ปลูกกันจนจบยังไม่ผุพัง) เติมด้วยดินผสมปุ๋ยคอก ส่วนผสม 9:1 แล้วเติมใบไม้แห้งตามด้วยดินส่วนผสมดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง โดยให้ได้ปริมาณ 90% ของกระถาง รดน้ำต่อเนื่อง 1 อาทิตย์ สุดท้ายตามด้วยน้ำปูน
            เนื่องจากปูนขาวอาจหาได้ยากสามารถใช้ปูนแดงกินหมากแทนได้โดยใช้ปูนแดงกินหมาก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ถัง รดให้ชุ่มดิน ปุ๋ยคอกใบไม้หรือเครื่องปลูกทุกชนิดต้องผ่านการตากแดดให้แห้งเสมอ
 

กระถาง
               ที่ใช้อยู่หน้ากว้าง 10 นิ้ว หรือ 11 นิ้ว หรือ 12 นิ้ว สำหรับ 10 นิ้ว รู้สึกได้ว่าเล็กไปหน่อยแต่ก็ได้ผลใหญ่ใกล้เคียงกัน ก้นกระถางต้องหนุนด้วยเบี้ย 3 ตัว รูกระถางจะต้องระบายน้ำและอากาศได้ดี 

การปลูก 
              นำเมล็ดพันธุ์ห่อผ้าชุ่มน้ำพักไว้ 3-4 วัน แก้ดูถ้าเห็นปลายแหลมของเมล็ดแตกและมีรากโผล่มา
 ให้นำเมล็ดไปเรียงในกระถางดินที่เตรียมไว้ให้ห่างกัน 1 ถึง 2 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยดินร่วนในกระถางต้องระบายน้ำได้ดี รดน้ำแล้วไม่อุ้มน้ำมาก เมล็ดแตงถ้าฉ่ำน้ำจะเน่าเสียง่ายมาก พอต้นโผล่พ้นดินก็ให้น้ำได้เต็มที่ เมื่อต้นกล้ามีใบจริงใบแรกและเริ่มมีใบที่สอง ก็ย้ายลงกระถางได้เลย ก่อนย้ายกล้าลงกระถางควรให้ต้นกล้าขาดน้ำ พอย้ายลงกระถางแล้ว ให้รดน้ำทันที ต้นกล้าจะดูดน้ำฟื้นตัวไม่เฉา ถ้าต้นกล้าฉ่ำน้ำก่อนย้ายลงกระถางต้นกล้าจะอ่อนแอ
 พอย้ายแล้วมักจะตาย การย้ายกล้าควรย้ายในตอนเย็น 

ระหว่างเติบโต
              หลังจากย้ายต้นกล้าลงกระถางได้ 3-4 วัน ให้ปุ๋ยยูเรีย 1 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 1 ถัง ให้รดตอนเช้าในขณะที่กระถางยังชื้นจากการรดน้ำตอนเย็น หลังจากมีใบจริง 4-5 ใบ แล้วให้ปุ๋ยยูเรียผสมปุ๋ยเร่งดอกผล โดยใช้ปุ๋ยส่วนผสมนี้ 1 ช้อนชาฝังขอบๆกระถาง 2 ข้าง พอติดผลเท่าผลมะนาวแล้วให้ใช้ปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยเร่งดอกผลผสมกัน 1:1  จำนวนหนึ่งช้อนชาโรยขอบกระถาง โรยอาหารกระต่ายอัดเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ แล้วโรยปิดบนด้วยดินผสมปุ๋ยคอกเนื่องจากดินในกระถางขาดแร่ธาตุหลายอย่าง และไม่สามารถวิเคราห์ได้ ในอาหารกระต่ายมีส่วนผสมสารอาหารและแร่ธาตุหลายอย่าง และเมื่อรับน้ำแล้วอาหารเม็ดจะฟูพองใหญ่ขึ้นเป็น 10 เท่า เมื่อแยกทดลองดู 2 รอบแล้ว ปรากฏว่าที่ใส่อาหารกระต่ายลูกจะโตกว่ามาก เนื้อหนาไส้ตันทุกลูก ส่วนที่ไม่ใส่อาหารกระต่ายลูกจะเล็กและไส้จะกลวง แต่เนื่องจากอาหารเม็ดนี้ยังไม่ผ่านการย่อยสลายจึงอาจเกิดราสีน้ำตาลที่ผิวดินบ้าง แต่เพียงไม่กี่วันราก็จะสลายไปพร้อมกับผลแตงที่พองโตอย่างรวดเร็วพอผลแตงเริ่มแตกลายให้ใส่ปุ๋ย อาหารกระต่ายและดินผสมปุ๋ยคอกอีกรอบในช่วงนี้ผลแตงจะขยายตัวขึ้นอีกระยะหนึ่ง และน้ำหนักจะเพิ่มเนื้อจะหนาจนเหลือไส้เล็กๆ 

การดูแลผล
          เมื่อต้นมีใบ 5-6 ใบ ก็จะเริ่มมีดอกตัวผู้ ตามด้วยแขนงดอกตัวเมียออกมาตามซอกใบ ให้ไว้ผลตัวเมียระหว่างข้อใบที่ 8-15 สัก 2-3 ผล (ข้อใบนับจากโคนต้นขึ้นมา) ส่วนแขนงอื่นให้ตัดทิ้งให้หมด (ดอกตัวผู้ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวด้วย) พอผลโตเท่าลูกมะนาวให้ตัดเหลือผลที่ลักษณะดี ไม่บิดเบี้ยวไว้เพียงผลเดียว (ยกเว้นสายพันธุ์เล็กที่อาจเก็บไว้ได้ 2-3 ผล) ขณะที่ดอกตัวเมียบานและเริ่มติดผล กระทั่งโตเท่าผลส้มในช่วงนี้ต้องคอยระวังอย่าให้ผลไปเบียด เสียดสีกับหลัก ต้น หรือใบ เพราะบางพันธุ์ค่อนข้างจะถือตัว มันจะแป้ว เบี้ยว หรือผิวจะด่างเสียหายได้ เมื่อผลโตกว่าลูกมะนาวแล้ว ต้องใช้เชือกแขวนผลไว้กับค้าง เพราะแต่ละวันมันจะโตและหนักเป็นเท่าตัว ต้นจะรับน้ำหนักผลไม่ไหว ถ้าเป็นแคนตาลูปหลังติดผล 30-35 วัน ส่วนเมล่อน 45-55 วัน (ถ้าฝนตกมากเวลาสุกจะยืดออกไปมากเป็น 10-20 วัน) ได้เวลาลูกจะเปลี่ยนสีหรือขึ้นลายนูนชัดเจนขึ้น ใบจะขรุขระแข็งและกรอบใบหรือขอบใบล่างๆจะแห้งบ้าง จุกของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองจางๆ แคนตาลูปจะได้กลิ่นหอมขั้วจุกอาจปริและหลุดร่วงได้ ส่วนเมล่อนโดยมากจะเก็บกลิ่น (ผ่าแล้วจึงได้กลิ่น) พอถึงระยะนี้แล้วอย่าเพิ่งเก็บผล มิฉะนั้นจะมีบางต้นที่ยังไม่เข้าที่ ให้รดด้วยปุ๋ยเร่งดอกผลหรือโปรแตสเซียมในอัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อถัง ต่อจากนั้นให้น้ำแค่ประคองไม่ให้ต้นเฉาหลังให้ปุ๋ยและลดน้ำ 6-7 วัน วันสุดท้ายไม่ต้องให้น้ำ ตกเย็นใบเฉาให้ตัดผลในตอนเย็น ผึ่งไว้ 3-7 วัน เนื้อจะฉ่ำ  

ข้อควรระวัง
         แตงไม่เหมือนผลไม้อย่าบ่ม ปิด หรืออบในที่อุณหภูมิสูง อุณหภูมิ 4°-28° แตงจะพัฒนาสุกได้ดี แต่ถ้าเก็บในที่ร้อน ไส้แตงจะบูดและเน่าเสียได้ เมื่อฉ่ำได้ที่แล้วสามารถเก็บรักษาในตู้เย็นชั้นล่างได้นาน โดยเฉพาะถ้าห่อกระดาษเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้ จะรักษาความชื้นและเก็บได้นาน ห้ามใส่ถุงพลาสติก เพราะจะทำให้ชื้นแฉะและเน่าเร็ว
          
 การให้น้ำ
           ปลูกในกระถางน้ำจะแห้งเร็ว ต้องให้น้ำด้วยฝักบัวเช้าเย็น ตอนเย็นใบจะตกเล็กน้อย พอรดน้ำแล้วจะงามเข้าที่ควรรดน้ำตอนเย็นแค่ชื้นๆ แต่ตอนเช้าต้องให้ฉ่ำทั้งกระถาง ถ้าให้น้ำขาดตอน เช่นตอนเช้าไม่ได้รด ตอนเย็นให้โรยน้ำที่ต้นและใบ ส่วนโคนต้นแค่ชื้นเล็กน้อย ถ้าเห็นว่าแห้งมากแล้วไปให้น้ำเต็มที่จะทำให้ผลปริแตกและเสียไปเลยกระถางใดรดน้ำตอนเช้าพอตอนเย็นแห้งจนเหลือแค่ไอชื้นข้างใน รากจะลงลึกถึงก้นกระถาง ใบจะหนาเขียวเข้ม ผลจะใหญ่สมบูรณ์ ในทางกลับกันกระถางใดรดน้ำตอนเช้าแล้ว ตอนเย็นในกระถางยังฉ่ำอยู่ แสดงว่าเครื่องปลูกไม่โปร่งพอ รากลงได้แค่ครึ่งกระถางใบจะซีดบาง ผลไม่โต บางต้นรากส่งน้ำไม่พอก็เฉาตายทั้งๆที่ไม่ขาดน้ำ 

เพิ่มเติม
             ระยะที่แตงเริ่มติดผล ให้ตัดใบล่างๆออก 4-5 ใบ ใบล่างๆนี้จะเกะกะ เสียหายง่ายและเน่าโรยเร็ว ใบไม่มีขั้วใบให้หลุดได้ พอต้นแก่ใบล่างจะหักโรยเน่าได้ง่าย ต้นแก่แผลเน่าจากก้านใบมีปัญหา บางครั้งเน่าลามเข้าไปในต้นได้พอต้นสูงยาวจนอยู่ตัวแล้ว ให้ตัดยอดทิ้ง โดยนับใบให้เหลือ 18-20 ใบ (ถ้าปลูกในโดม รับแสงน้อย คายน้ำน้อย แนะนำให้เหลือ 22-25 ใบ)บางครั้งถ้าขาดดินสำรอง ถ้าซื้อดินถุงมาต้องตากให้แห้งก่อนเติม เคยฝนตกมากดินพร่องไปมาก ซื้อดินมาเติมทันที ปรากฏว่าหนึ่งอาทิตย์ให้หลัง จำนวนเกือบครึ่งที่เติมดิน รากติดเชื้อ ต้นและใบเหลืองเฉา ลูกที่ใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวต้องทิ้งหมดช่วงที่ดอกตัวเมียเริ่มบาน ถ้ามีผึ้งมาตอมมากจะผสมเกสรได้ดี แต่ถ้าไม่มีแมลงเลย ต้องนำดอกตัวผู้มาฉีกกระเปาะโคนกลีบดอกจะเห็นกลุ่มเกสรสีเหลือง ให้นำดอกตัวผู้ละเลงที่เกสรตัวเมียขณะที่ดอกตัวเมียกำลังบาน อาจมีนกกระจอกยกพวกมาจิกฉีกกลีบดอกออก แล้วจิกกินแค่ยอดเกสรตัวเมีย ถ้ามันเริ่มมาแล้วจะมาทุกวันจนไม่มีดอกตัวเมียที่สมบูรณ์เหลืออยู่ และไม่สามารถมานั่งเฝ้าและไล่มันทั้งวันได้ ให้สังเกตในตอนเย็นว่าดอกตัวเมียใดกลีบดอกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองแล้ว วันรุ่งขึ้นดอกนั้นจะบาน ให้นำแผ่นถุงพลาสติกที่ตัดได้ขนาด 3 นิ้ว คูณ 3 นิ้ว มาจับจีบแม็กล้อมดอกไว้ให้ปลายเป็นปากแตร พอตอนเช้าดอกบานและผสมเกสรแล้ว ตอนเย็นหรือวันรุ่งขึ้นก็เอาที่ล้อมไว้ออกได้ ดอกบานข้ามวันมันจะไม่จิกกินยังมีการเพิ่มปุ๋ยน้ำชีวภาพจากเศษพืชผัก-ผลไม้ แต่ใช้น้อยมาก ผสมน้ำจางๆ 4-5 วัน รดครั้งหนึ่ง ทั้งหมดดังกล่าวคือขั้นตอนที่ทำได้ผลพอดีพอควร เกิดจากการลองผิดลองถูกจนได้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากไม่มีพื้นฐานทางการเกษตร และอาจผิดหลักทางวิชาการ ควรต้องแก้ไขปรับปรุงอีกมาก ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยจากสวนแตงท่าพระคำถามหรือคำแนะนำ
 

  





วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

การปลูกองุ่น

การปลูกองุ่น




                    การปลูกองุ่นในปรเทศไทยได้รับความมนิยมเป็นอย่างมากในภาคตะวันออก และด้วยองุ่นเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในหลายๆสภาพอาการจึงทำให้การปลูกขยายไปบางในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียบหนือ และภาคกลาง แต่ที่ทำให้การปลูกองุ่นไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรอาจเป็นเพราะองุ่นเป็นพืชที่ไม่ได้ทนต่อแมลง และโรคพืชได้เท่าใดนัก ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงก็ตามครับ

การปลูกองุ่น
                  สภาพอากาศที่เหมาะแก่การปลูกองุ่น องุ่นเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-4,000ฟุต แต่ก็มีบางพันธุ์ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่สูงจากน้ำทะเล 6,000 ฟุตก็มีครับ ส่วนในประเทศไทยก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน แต่องุ่นที่ปลูกในประเทศไทยเหมาะที่จะปลูกเพื่อนทานผลมากกว่า การปลูกเพือทำเหล้าเหมือนกย่างในยุโรป

                สภาพดินที่เหมาะกับการปลูกองุ่น ต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ถ้าจะให้ดีควรเป็นดินเหนียวปนดินร่วนตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ สภาพความเป็นกรด-ด่าง(HP) อยู่ที่ 5.6-6.4 และมีปริมาณน้ำเพียงพอ แต่น้ำท่วมไม่ถึงเด็ดขาด

พันองุ่นที่นิยมปลูก
              1. พันธุ์ไวท์มะละกา เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในทุกวันนี้ เหมาะในการปลูกเพื่อทานผล มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์หลักๆ คือ ชนิดผลกลม และผลยาว ลักษณะทางสายพันธุ์มีช่อใหญ่ มีลูกเยอะ สีของผลเมือแก่พร้อมเก็บเกี่ยว มีสีเหลืองอมเขียว รสหวาน หนึ่งปีให้ผลผลิต 2 ครั้ง
               
              2. พันธุ์คาร์ดินัล เป็นองุ่นที่ปลูกง่าย ดูแลง่ายให้ผลผลิตสูง ช่อผลใหญ่ ผลมีสีม่วนดำ รสหวาน กรอบ เปลือกบาง (ทำให้ผลแตกง่าย หากเก็บเกี่ยวไม่ทัน) ในเวลา 2 ปี เก็บผลผลิตได้ 5 ครั้ง แต่ราคาถูกกว่าพันธ์ไวท์มะละกา จึงไม่ค่อยนิยมปลูกเท่าที่ควร
    วิธีการขยายพันธ์องุ่น
             องุ่นเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายมากๆ ครับ สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การปักชำ การตอน การติดตา การเสียบยอด และการเสริมราก  แต่ไม่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดเพราะจะทำให้กลายพันธุ์ได้ และติดโรคพืชได้ง่ายครับ





การปลูกและการดูแลรักษา
         1. การเตรียมพื้นที่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกองุ่นในแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังได้ง่าย จะปลูกด้วยการยกร่องให้สูง เพื่อป้องกันรางเน่าในองุ่นครับ
                1.1 การปลูกแบบยกร่อง เตรียมพื้นที่โดยการยกร่องให้แปลงมีขนาดกว้าง 6 เมตร ความยาวร่องแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ ส่วนความสูงของร่องให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงสุดโดยให้อยู่สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร ขนาดร่องน้ำกว้าง   1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ก้นร่องน้ำกว้าง 0.5-0.7 เมตร การปลูกควรปลูกแถวเดียวตรงกลางแปลง เว้นระยะระหว่างหลุมให้ห่างกัน 3-3.50 เมตร
                 1.2 การปลูกในที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 3×4-3.50×5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
       2. วิธีการปลูก                                                            
              1. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร
              2. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
              3. ยกถุงกล้าต้นองุ่นวางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
              4. ใช้มีดที่คมกรีดถึงจากก้นขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
              5. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
              6. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม
              7. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
              8. ป้กไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
              9. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
             10. รดน้ำให้โชก
             11. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด



3. การทำค้าง
          การทำค้างขจะทำหลังจากที่ปลูกองุ่นแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งต้นองุ่นจะสูงพอดีที่จะขึ้นค้างได้ ค้างต้นองุ่นมีหลายแบบด้วยกันแต่แบบที่นิยมกันมากคือ ค้างแบบเสาคู่แล้วใช้ลวดขึง มี

วิธีการและขั้นตอน ดังนี้
            การเลือกเสาค้าง เสาค้างอาจใช้เสาซีเมนต์หน้า3 นิ้ว หรือ 4 นิ้วก็ได้ เสาค้างซีเมนต์จะแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานหลายปี แต่มีราคาแพงและหนัก เวลาทำค้างต้องเสียแรงงงานมาก ถ้าใช้เสาไม้ให้ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหน้า 2×3 นิ้ว หรือหน้า 2×4 นิ้ว หรือเสากลมก็ได้ เสาควรยาวประมาณ 2.5-3 เมตร หรือยาวกว่านี้ ซึ่งเมื่อปักลงดินเรียบร้อยแล้ว ให้เหลือส่วนที่อยู่เหนือดิน                                                                                                                             ประมาณ 1.50 เมตร


การปลูกองุ่น
                  การปักเสา ให้ปักเป็นคู่ 2 ข้างของแปลงในแนวเดียวกัน โดยให้เสาห่างกัน 2 เมตร และเมื่อติดคานแล้ว ให้เหลือหัวไม้ยื่นออกไปทั้งสองข้างๆ ละ 50 เซนติเมตร (ดังภาพแบบที่ 1) ถ้าปักเสาห่างกัน 3 เมตร เมื่อติดคานบนแล้วจะพอดีหัวไม้ (ตามภาพแบบที่ 2) การติดคานเชื่อมระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ใช้น๊อตเหล็กเป็นตัวยึด ไม่ควรยึดด้วยตะปูเพราะจะไม่แข็งแรงพอ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละคู่ประมาณ 10-20 เมตร ยิ่งปักเสาถี่จะยิ่งแข็งแรงทนทานแต่ก็สิ้นเปลืองมากบางแห่งจึงปักเสาเพียง 3 คู่ คือ หัวแปลง กลางแปลง และท้ายแปลง และระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ค้างไม้รวกช่วยค้ำไว้เป็นระยะๆ ซึ่งก็สามารถใช้ได้และประหยัดดีแต่ต้องคอยเปลี่ยนค้างไม้รวกบ่อย
                  การขึงลวด ลวดที่ใช้ทำค้าง ให้ใช้ลวดขนาดใหญ่พอสมควรคือ ลวดเบอร์ 11 ซึ่งลวดเบอร์ 11 หนัก 1 กิโลกรัม จะยาวประมาณ 18 เมตร ให้ขึงลวดพาดไปตามคานแต่ละคู่ตลอดความยาวของแปลง โดยใช้ลวด 4-6 เส้น เว้นระยะลวดให้ห่างเท่าๆ กัน ที่หัวแปลงและท้ายแปลงให้ใช้หลักไม้ขนาดใหญ่ตอกฝังลงไปในดินให้แน่น แล้วใช้ลวดโยงจากค้างมามัดไว้ที่หลักนี้เพื่อให้ลวดตึง หลังจากขึงลวดเสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าลวดหย่อนตกท้องช้างหรือไม่ ถ้าหย่อนมากให้ใช้ไม้รวกขนาดใหญ่ปักเป็นคู่ตามแนวเสาค้าง แล้วใช้ไม้รวกอีกอันหนึ่งพาดขวางผูกด้านบนในลักษณะเดียวกับค้าง เพื่อช่วยรับน้ำหนักเป็นระยะๆ ไปตลอดทั้งแปลง เพราะเมื่อต้นองุ่นขึ้นค้างจนเต็มแล้วจะมีน้ำหนักมากจำเป็นต้องช่วยรองรับน้ำหนักหรือค้ำยันไว้ไม่ให้ค้างหย่อน


4. การตัดแต่งทรงต้นในระยะเลี้ยงเถา
                   องุ่นเป็นพืชที่เจริญเติบโต และมีการแตกกิ่งก้านสาขาเร็วจึงจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นองุ่นเจริฐเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง ต้นองุ่นที่ปลูกเสร็จแล้วให้หาไม้รวกปักขนาบลำต้นแล้วจึงผูกต้นชิดกับเสาเพื่อบังคับให้ต้นตั้งตรง ในระหว่างนี้ตาข้างจะเจริญพร้อมกับตายอด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การเจริญส่วนยอดลดลง ดังนั้นจึงต้องตัดตาข้างทิ้งเสมอๆ และผูกให้ยอดองุ่นตั้งตรง เมื่อต้นองุ่นเติบโตจนมีความสูง 1.5 เมตร หรือจากยอดถึงระดับค้าง หรือเสมอระดับลวด ต้องตัดยอดทิ้ง จัดกิ่งให้อยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ตาข้างที่อยู่บริเวณยอดเจริญออกมา 2 ยอดตรงข้ามกัน ซึ่งจะเอาไว้ทั้ง 2 กิ่งหรือกิ่งเดียวกันก็ได้ ถ้าเอาไว้ 2 กิ่งให้จัดกิ่งทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน
                    การไว้ทั้ง 2 กิ่งมักพบปัญหาคือ กิ่งทั้ง 2 เจริญเติบโตไม่เท่ากัน ทำให้การกระจายของผลไม่สม่ำเสมอกันจึงมักนิยมไว้กิ่งเพียงกิ่งเดียว คือหลังจากที่ตัดยอด และตาแตกออกมาเป็นกิ่งแล้ว ให้เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ แข็งแรงไว้เพียงกิ่งเดียว อีกกิ่งหนึ่งตัดออก กิ่งที่คงค้างไว้ของทุกต้นให้จัดกิ่งหันไปในทิศทางเดียวกันคืนหันไปทางหัวแปลงหรือท้ายแปลง หลังจากที่จัดกิ่งให้หันไปในทิศที่ต้องการแล้ว เมื่อกิ่งนั้นยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ให้ตัดยอดออก กิ่งนั้นจะแตกตาใหม่เติบโตเป็นกิ่งใหม่ 2 กิ่งให้คงเหลือ ไว้ทั้ง 2 กิ่ง และเมื่อกิ่งใหม่ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ก็ตัดยอดอีกและเหลือไว้ทั้ง 2 กิ่งเช่นเดียวกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งองุ่นเต็มค้างจึงหยุดการตัดยอด ในระหว่างที่ตัดยอดให้กิ่งแตกใหม่นั้น จะต้องจัดกิ่งให้กระจายเต็มค้างอย่างทั่วถึงอย่าให้ทับกันหรือซ้อนกันมาก จัดให้กิ่งอยู่บนค้างเสมอ อย่าให้กิ่งชูโด่งขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง การจัดกิ่งให้อยู่ในที่ที่ต้องการอาจจะใช้เชือกกล้วยผูกมักกับลวดก็ได้ เพราะเชือกกล้วยจะผุเปื่อยเร็ว ทำให้การตัดแต่งกิ่งในครั้งต่อไปทำได้สะดวก กิ่งเหล่านี้เรียกว่า เคนซึ่งเป็นกิ่งที่ใช้ตัดแต่งเพื่อการออกดอกต่อไป ช่วงการเจริญเติบโตของต้นองุ่นตั้งแต่ปลูกตัดแต่งทรงต้นจนต้นมีอายุพอที่จะตัดแต่งกิ่งได้เรียกว่า ระยะเลี้ยงเถาซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน


 5. การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอก
                  ต้นองุ่นที่นำมาปลูกในบ้านเรานั้นถ้าไม่ตัดแต่งกิ่งแล้วจะไม่ออกดอกหรือออกเพียงเล็กน้อยให้ผลที่ไม่สมบูรณ์ การจะให้ต้นองุ่นออกดอกได้ต้องตัดแต่งกิ่งช่วยหลังจากต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่แล้วและก่อนตัดแต่งกิ่ง ต้องงดการให้น้ำ 7 วัน เพื่อให้องุ่นออกดอกได้มากอายุการตัดแต่งให้ออกดอกในครั้งแรกหรือ มีดแรกขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น อายุของต้น และพันธุ์ เป็นต้น เช่น
           องุ่นพันธุ์คาร์ดินัล ตัดแต่งได้เมื่ออายุ 9-10 เดือน หลังจากการปลูกในแปลงจริง
          องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ตัดแต่งกิ่งได้เมื่ออายุ 10-12 เดือน หลังจากปลูกในแปลงจริง

กิ่งที่จะตัดแต่งเพื่อให้ออกดอกจะต้องเป็นกิ่งที่แก่จัด กิ่งเป็นสีน้ำตาล ใบแก่จัด ดังนั้นก่อนการตัดแต่งจะต้องงดให้น้ำ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่ การตัดแต่งให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งช่วงสุดท้ายให้สั้นลง ความยาวของกิ่งที่เหลือขึ้นอยู่กับพันธุ์องุ่นด้วย เช่น
         พันธุ์คาร์ดินัล ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 3-4 ตา
         พันธุ์มะละกา ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 5-6 ตา
ถ้าเป็นกิ่งอ่อนควรเว้นตาไว้เพิ่มขึ้นและนำกิ่งที่ตัดออกจากแปลงปลูกไปเผาทิ้งหรือฝังเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้นเพราะจะเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ ที่จะเข้าทำลายองุ่นได้ แล้วจึงเริ่มให้น้ำแก่ต้นองุ่น หลังจากนั้น 15 วันต้นองุ่นจะเริ่มแตกกิ่งใหม่ ซึ่งกิ่งใหม่ที่แตกออกมานี้จะมี 2 พวกคือ พวกหนึ่งมีช่อดอกอยู่ด้วย และอีกพวกหนึ่งมีแต่ใบอย่างเดียว สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ คือ ถ้ากิ่งไม่มีช่อดอกติดออกมาด้วยแสดงว่า กิ่งนั้นจะมีแต่ใบอย่างเดียว เพราะช่อดอกจะปรากฏอยู่บริเวณโคนกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้เท่านั้น ต่อจากนั้นอีก 15 วัน ดอกก็จะเริ่มบานจากโคนช่อดอกไปยังปลายช่อดอกใช้เวลา 2 วันก็จะบานหมดทั้งช่อ ในช่วงดอกบานนั้นเป็นช่วงที่อ่อนแอ ถ้ามีฝนตกหนักอาจทำให้ดอกร่วงและเสียหายได้


6. การปฏิบัติหลังจากตัดแต่งกิ่ง
             6.1 การตบแต่งกิ่งและการจัดกิ่ง หลักงจากการตัดแต่งกิ่งได้ 15 วัน องุ่นจะแตกกิ่งใหม่ออกมาจำนวนมาก มีทั้งกิ่งที่มีช่อดอก กิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียว และกิ่งแขนงเล็กๆ ซึ่งกิ่งแขนงเล็กพวกนี้ให้ตัดออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะกิ่งที่มีช่อดอก และกิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียวที่เป็นกิ่งขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ใบที่อยู่โคนๆ กิ่งก็ให้ตัดออกด้วย เพื่อให้โปร่งไม่ทึบเกินไป เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้ว และเห็นว่ากิ่งยาวพอสมควรจัดกิ่งให้อยู่บนค้างอย่างเป็นระเบียบ กระจายตามค้างและไม่ทับซ้อนกันหรือก่ายกันไปมา เพราะกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะแตกออกทุกทิศทุกทางเกะกะไปหมด วิธีจัดกิ่งคือ โน้มกิ่งให้มาพาดอยู่บนลวดแล้วอาจผูกด้วยเชือกกล้วย หรือใบกล้วยแห้งฉีกเป็นริ้วๆ ไม่ให้กิ่งที่ชี้ขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง เพราะจะไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เวลาจัดกิ่งต้องระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนดอก เพราะจะฉีกขาดเสียหายได้ง่าย พยายามจัดให้ช่อดอกห้อยลงใต้ค้างเสมอเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ ในสวน
             6.2 การตัดแต่งข่อดอก หลังจากจัดกิ่งเรียบร้อยแล้ว ช่อดอกจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งต้นองุ่นออกดอกมากเกินไป ถ้าปล่อยไว้ทั้งหมดจะทำให้ต้นโทรมเร็ว คุณภาพของผลของผลไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นถ้าเห็นว่า มีช่อดอกมากเกินไปให้ตัดออกบ้าง การตัดแต่งช่ออาจทำตั้งแต่กำลังเป็นดอกอยู่ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะไม่แน่ว่าช่อที่เหลือจะติดผลดีหรือไม่ จึงแนะนำให้ตัดแต่งช่อที่ติดเป็นผลเล็กๆ แล้ว โดยเลือกช่อที่เห็นว่ามีขนาดเล็กรูปทรงไม่สวย ติดผลไม่สม่ำเสมอ มีแมลงทำลายและเหลือช่อที่มีรูปทรงสวยไว้ให้กระจายอยู่ทั่วทุกกิ่งอย่างสม่ำเสมอ
             6.3 การตัดแต่งผล องุ่นที่ปลูกันอยู่ปัจจุบันในบ้านเรามักติดผลแน่นมาก ถ้าไม่ตัดแต่งผลในช่อจะแน่นเกินไป ทไให้ผลที่ได้มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่ดี หรือเบียดเสียดกันจนผลบิดเบี้ยวทำให้ดูไม่สวยงาม จำเป็นต้องตัดแต่งผลใสช่อออกบ้างให้เหลือพอดี ไม่แน่นเกินไปหรือโปร่งเกินไป การตัดแต่งผลออกจากช่อมักทำ 1-2 ครั้ง เมื่อผลโตพอสมควร ผลองุ่นอ่อนที่ตัดออกมาไปดองไว้ขายได้ วิธีการให้ใช้กรรไกรขนาดเล็กสอดเข้าไปตัดที่ขั้วผล อย่าใช้มือเด็ดหรือดึง เพราะจะทำให้ช่อผลช้ำเสียหาย ฉีกขาด และมีส่วนของเนื้อผลติดอยู่ที่ขั้วทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย ข้อควรระวัง เมื่อองุ่นติดผลแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในส่วนต้องสวมหมวกหรือโพกศีรษะเสมอ อย่าให้เส้นผมไปโดนผลองุ่นจะทำให้ผลองุ่นเน่าเสียได้
            6.4 การใช้สารฮอร์โมน สารฮอร์โมนที่ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อข่วยให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น ทำให้ช่อโปร่ง ผลไม่เบียดกันมาก ประหยัดแรงงานในการตัดแต่งผล นอกจากนี้ยังช่วยให้ผลยาว ผลโตขึ้นสวยงาม รสชาติดี สีสวย หวาน กรอบ ผลองุ่นที่ชุบด้วยฮอร์โมนจึงขายได้ราคาดีสำหรับพันธุ์องุ่นที่นิยมใช้สารฮอร์โมนคือ พันธุ์ไวท์มะละกา เพราะติดผลดกมาก จนต้องตัดแต่งผลทิ้งเป็นจำนวนมาก การใช้สารฮอร์โมนจึงช่วยให้ช่อผลยืดยาวขึ้นไม่ต้องตัดแต่งมากและช่วยในผลขยายใหญ่ยาวขึ้นดูสวยงาม ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลไม่ค่อยนืยมใช้เพราะองุ่นพันธุ์นี้ติดผลไม่ค่อยดก ผลไม่เบียดกันแน่น ถ้าใช้ฮอร์โมนจะทำให้ช่อองุ่นดูโหรงเหรงไม่น่าดู ปกติผลองุ่นพันธุ์นี้โตอยู่แล้วและเป็นผลทรงกลมส่วนฮอร์โมนที่ใช้ในการยืดช่อผล ขยายขนาดของผลคือ สาร จิบเบอร์เรลลินซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาด (ชื่อทางการค้าต่างๆ กัน) อัตราที่ใช้ได้ผลคือ 20 พีพีเอ็ม (คือตัวยา 20 ส่วน ในน้ำ 1 ล้านส่วน) นิยมใช้ 1-2 ครั้งคือ ครั้งแรกหลังจากดอกบาน 7 วัน (ดอกบาน 80 เปอร์เซนต์ของทั้งช่อ) ส่วนครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกประมาณ 7 วัน
วิธีใช้ การใช้สารฮอร์โมน นี้อาจใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ช่อดอกช่อผลให้ทั่วทุกต้นทั้งแปลง ซึ่งแม้จะโดนใบก็ไม่มีผลต่อใบแต่อย่างใด วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำยามาก และฮอร์โมนถูกช่อองุ่นไม่ทั่วทั้งช่อแต่ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า ส่วนอีกวิธีคือ ชุบช่อดอก ช่อผล ซึ่งประหยัดน้ำยาได้มากกว่า วิธีการทำง่าย แต่เสียแรงงานมากกว่าอุปกรณ์ง่ายๆ สำหรับการชุปฮอร์โมนคือ หาถุงพลาสติกขนาดโตพอที่จะสวมช่อองุ่นได้มา 2 ใบ ใบแรกใส่น้ำธรรมดาลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของถุง ใบที่ 2 ใส่สารฮอร์โมนที่ผสมเตรียมไว้ลงไปประมาณครึ่งถุงเอาถุงใบที่มีฮอร์โมนสวมลงไปในถุงใบที่มีน้ำ จักปากถุงให้เสมอกันแล้วพับตลบปากถุงออกด้านนอก 2-3 พับ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในถุงไหลออกมาได้ เมื่อจะชุบช่อองุ่นให้วางถุงบนฝ่ามือ เปิดปากถุงให้กว้างแล้วสวมเข้าไปที่ช่อองุ่น บีบฝ่ามือน้ำยาก็จะทะลักขึ้นมาด้านบนทำให้เปียกทั้งช่อ แล้วเปลี่ยนไปชุบช่อต่อๆ ไป เวลาที่ใช้ในการชุบช่อแต่ละช่อเพียวอึดใจเดียว คือ เมื่อบีบถุงน้ำยาทะลักขึ้นไปโดนช่อแล้วก็คลายมือที่บีบแล้วนำถุงน้ำยาออกทันที ฉะนั้นคนที่ชำนาญจะทำได้รวดเร็วมากเมื่อชุบช่อไปได้สักพักน้ำยาในถุงจะพร่องลง ก็เติมลงไปใหม่ให้ได้ระดับเดิม คือ ประมาณครึ่งถุงตลอดเวลา การบีบต้องระวังอย่าให้แรงมากเพราะน้ำยาจะทะลักล้นออกนอกถุงเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

           ข้อควรระวัง การใช้ฮอร์โมนชุบช่อนี้เป็นโอกาสที่จะทำให้โรคต่างๆ ระบาดจากช่อหนึ่งไปยังอีกช่อหนึ่งได้ง่าย ถ้าเป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดอยู่ ควรเติมยากันราลงไปในฮอร์โมนนั้นด้วย และการใช้ฮอร์โมนต้องระวังเกี่ยวกับการเตรียมสารให้ได้ความเข้มข้นที่กำหนด การผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลองุ่นร่วงง่าย ขั้วผลเปราะนั่นเอง การเก็บเกี่ยวและการขนส่วจึงต้องระมัดระวังมาก แต่สามารถแก้ไจได้โดยการใช้สาร 4-CPA (4-Chlorophenoxy acetic acid) ฉีดพ่นก่อนเก็บผลประมาณ 10 วัน จะช่วยลดการร่วงของผลได้บ้างแต่ก็ยังร่วงมากกว่าองุ่นที่ไม่ได้ใช้สารจิบเบอร์เรลลิน


7. การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยนับว่ามีความสำคัญมากเพราะองุ่นเจริญเติบโตทั้งปีให้ผลผลิตมาก ดังนั้นจึงต้องใช้ธาตุอาหารต่างๆ มาก ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่
            7.1 ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ถึงแม้จะมีโรตุอาหารที่พืขต้องการจำนวนน้อย แต่มีคุณสมบัติทำให้โครงสร้างของดินดี ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักทุกปีๆ ละอย่างน้อย 1 ครั้งๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/ต้น แต่ต้องคำนึงเสมอว่าปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่จะนำมาใส่นั้น ต้องเป็นปุ๋ยที่มีการย่อยสลายหมดแล้ว โดยเฉพาะปุ๋ยมูลค้างคาวใช้ได้ผลดี
            7.2 ปุ๋ยเคมี
             - ระยะเลี้ยงเถา การใส่ปุ๋ยช่วงนี้เพื่อบำรุงรักษาต้นให้มีการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้าน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราที่ใส่ไม่ควรมากนักแต่ควรใส่บ่อยครั้ง เช่น อัตราต้นละ 50 กรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 1 เดือน จนถึง 3 เดือน แล้วเพิ่มเป็น 100 กรัม/ต้น ทุกเดือน แต่อัตราการใส่นั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นองุ่นด้วย
             - องุ่นที่ให้ผลแล้ว ควรแบ่งใส่ 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 หลังการเก็บเกี่ยวมีดแรกใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นเพื่อบำรุงต้นพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
ระยะที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง 7-15 วันใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงยอดใบและดอก ที่ผลิขึ้นมาใหม่
ระยะที่ 3 หลังตัดแต่งกิ่ง 45 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17 หรือ 4-16-24-4 ใส่เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผลประมาณ 100 กรัม/ต้น
ระยะที่ 4 หลังตัดแต่งกิ่ง 75 วัน ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยที่มีโปรแตสเซียมสูง ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 หรือ 13-13-21 ประมาณ 100 กรัม/ต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผลองุ่นและสีผิวและรสชาติ
         - ธาตุอาหารเสริม
ต้นองุ่นที่มีสภาพค่อนข้างโทรม ขาดการบำรุงที่ดีควรเร่งให้รากเจริญเติบโต เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นให้พัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-30-15 หรือ 10-20-30 หรือ 20-20-20 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุปริมาณน้อยอัตรา 60 กรัม ผสมกรดฮิวมิค 100-200 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่วทุกสัปดาห์รวม 3 ครั้ง หรือฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบสูตร ทางด่วนซึ่งประกอบด้วย สารอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ครอปไจแอน โพลีแซค มอลตานิค และฟลอริเจน เป็นต้น อัตรา 20-30 ซีซี (อาจใช้น้ำตาลกลูโคส) หรือเด็กซ์โตรส 600 กรัม ฮิวมิคแอซิค อัตรา 20 ซีซีปุ๋ยเกร็ด สูตร 15-30-15 หรือ 20-20-20 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุปริมาณน้อยอัตรา 40-60 กรัมสารจับใบส่วนผสมทั้งหมดผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน ติดต่อกันนาน 3-4 สัปดาห์

8. การให้น้ำ
                   องุ่นมีความต้องการน้ำมาก จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้แห้ง โดยเฉพาะหลังจากตัดแต่งกิ่ง ต้องให้น้ำเพื่อให้ดินชื้นอยู่เสมอแต่อย่าให้ถึงกับแฉะ ในระยะแรกแปลงองุ่นจะโล่งไม่มีใบปกคลุมการให้น้ำอาจจะต้องให้ทุกวัน สังเกตดูว่าอย่าให้ดินในแปลงแห้งมาก การให้น้ำนี้ควรให้อย่างสม่ำเสมอไปเรื่อยๆ จนถึงระยะที่ผลแก่จึงควรงดการให้น้ำ 2-4 สัปดาห์ก่อนวันตัดผล เพื่อให้องุ่นมีคุณภาพดีรสหวานจัดและสีสวยการให้น้ำก่อนตัดผลจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นบ้าง แต่ผลองุ่นที่ได้จะมีคุณภาพไม่ดี เน่าเสียเร็ว เก็บไว้ได้ไม่นาน

 การห่อผล 
             หลังจากตัดแต่งผลแล้ว ควรห่อผลเพื่อป้องกันแมลงเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยแป้ง แมลงวันทอง อีกทั้งยังทำให้ผลองุ่นผิวสวยลูกโตกว่าปกติ และป้องกันความเสียหายจากเส้นผมของผู้ปฏิบัติงานไปโดนผลองุ่นอีกด้วย
วัสดุที่ใช้ห่อผลองุ่นอาจทำเอง โดยใช้กระดาษ เช่น กระดาษกระสอบปูน ซึ่งทนต่อน้ำฝน ไม่ค่อยเปียกน้ำและเมื่อถูกน้ำจะแห้งเร็ว ทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย แต่ถ้าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ จะใช้ได้ไม่นานเพราะกระดาษหนังสือพิมพ์เมื่อโดนน้ำแล้วจะซับน้ำและเปื่อยยุ่ยได้ง่าย หรืออาจจะซื้อวัสดุห่อผลองุ่นแบบสำเร็จรูปก็ได้ ปัจจุบันจะมีบริษัทผลิตจำหน่ายหลายแบบ แต่ก่อนห่อผลจะต้องฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อนหรือใช้วิธีการจุ่มช่อผล เหมือนกับการจุ่มฮอร์โมนยืดช่อดอกก็ได้ เพื่อป้องกันโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย
การเก็บเกี่ยว
          การเก็บเกี่ยวผลองุ่นเป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่งเพราะองุ่นเป็นผลไม้บ่มไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเก็บมาจากต้นเป็นอย่างไรก็จะยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่หวานขึ้น และไม่สุกมากขึ้นอีกแล้ว การเก็บผลองุ่นจึงต้องเก็บในช่วงที่ผลแก่เต็มที่ และไม่แก่เกินไป ผลองุ่นที่ยังไม่แก่เต็มที่จะมีรสเปรี้ยว รสฝาด คุณภาพของผลไม่ดี สีไม่สวย ส่วนผลองุ่นที่แก่เกินไปจะหวานจัดเกินไป เน่าเสียง่าย เก็บไว้ไม่ได้นาน ผลหลุดร่วงง่าย เป็นต้น  ผลองุ่นที่แก่จัดสังเกตได้หลายอย่าง เช่น กานับอายุตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงแก่จัดซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ เช่น พันธุ์คาร์ดินัล ประมาณ 3 เดือน พันธุ์ไวท์มะละกา ประมาณ 3-3 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตามการกำหนดการแก่ของผลโดยการนับอายุตั้งแต่ตัดแต่งนี้มีข้อสังเกตบางประการ เช่น ผลองุ่นที่ใช้ฮอร์โมนจะสุกเร็วกว่าผลที่ไม่ใช้ฮอร์โมนหลายวัน และฤดูกาลก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น ฤดูแล้ง ผลจะสุกเร็วกว่าฤดูฝน เป็นต้น จึงต้องใช้อย่างอื่นประกอบด้วย เช่น สีของผลที่แก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเขียว (องุ่นทุกพันธุ์ตอนที่ผลยังเล็กอยู่จะเป็นสีเขียว) เป็นสีตามพันธุ์ เช่น พันธุ์ไวท์มะละกา เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองใน ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลเป็นสีม่วงดำหรือแดงอมดำ เป็นต้น นอกจากสีของผลแล้ว อาจดูจากความหวานของผลโดยการทดลองชิมดูหรือใช้เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ความหวาน (น้ำตาล) หรืออาจดูจากขั้วช่อผล ถ้าผลแก่จัด ขั้วของช่อผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นการเก็บผลองุ่นที่แก่จัดควรอาศัยหลายๆ อย่างประกอบกันเพื่อให้แน่ใจและที่สำคัญอย่างยิ่ง คือควรงดการให้น้ำแก่ต้นองุ่นสักระยะหนึ่งก่อนการตัดผลเพื่อให้ผลองุ่นมีคุณภาพดีอย่างไรก็ตาม บางครั้งผู้ปลูกอาจจำเป็นต้องเก็บผลองุ่นที่จะแก่จัดด้วยเหตุหลายประการ เช่น ฝนตกขณะผลกำลังแก่จัดจะทำให้ผลแตกเสียหายมาก โดยเฉพาะพันธุ์คาร์ดินังล และเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ พ่อค้าจะเป็นคนกำหนดให้เก็บผลองุ่นตามเวลาที่เขาต้องการถึงแม้ว่าผลองุ่นจะยังไม่แก่จัดก็ตาม เพราะว่าองุ่นขาดตลาด เป็นต้น    สำหรับองุ่นที่ปลูกอยู่ในแปลงเดียวกันจะแก่ไม่พร้อมกัน การเก็บจำเป็นต้องเก็บหลายครั้ง โดยเลือกเก็บเฉพาะช่อที่แก่เต็มที่ก่อน และทยอยเก็บไปเรื่อยๆ จนหมด การเก็บใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผลแล้วบรรจุลงเข่ง หรือลังไม้ที่บุ หรือรองด้วยกระดาษห่อฝอยหรือใบตอง เพื่อป้องกันการชอกช้ำในขณะขนส่ง การขนส่งก็ควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ชอกช้ำมาก และอย่านำเข่งที่บรรจุผลองุ่นวางซ้อนกัน