วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

เห็ดนางรม-ฮังการี

เห็ดนางรม-ฮังการี




ธรรมชาติของเห็ดนางรม
เห็ดนางรมในธรรมชาติจะเจริญบนไม้ที่มีชีวิต
และเมื่อต้นไม้ตายเห็ดนางรมก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก
เห็ดนางรมจะเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดเล็กน้อย
หรือมี pH 6.5-6.8 ฉะนั้น ในการผสมขี้เลื่อยหรือวัสดุที่ใช้ เพาะจึงไม่จำเป็นต้องใส่ปูนขาวลงไป
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเส้นใยเห็ดนางรมประมาณ 30-32
องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะต่อการออกดอกของเห็ดประมาณ 25 องศาเซลเซียส



ส่วนประกอบของเห็ดนางรม

หมวกดอกมีลักษณะคล้ายหอยนางรม
หมวกดอกมีลักษณะแบนราบไม่เหมือนเห็ดฟาง กลางหมวกดอกมีลักษณะเป็นแอ่ง
หมวกดอกอาจมีสีขาวหรือสีเทาก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
และลักษณะของหมวกดอกอาจเป็นเนื้อเดียวกับก้านดอก ก้านดอก
เป็นส่วนที่ใช้ชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกค่อนข้างจะสั้น
และเจริญเข้าหาแสงสว่าง ครีบดอก มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆสีขาวหรือสีเทา
ที่บริเวณครีบดอกเป็นแหล่งสร้างสปอร์



ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรม

•  1. แสงสว่าง มีผลต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของดอกเห็ดมาก
เพราะแสงจะช่วยกระตุ้นในการรวมตัวของเส้น ใยและการพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์
ถ้าได้รับแสงน้อยจะทำให้หมวกดอกมีขนาดเล็กลงและก้านดอกยาวขึ้น
และถ้าแสงน้อยมากๆจะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติไป
ดังนั้นในการเพาะเห็ดนางรมควรให้เห็ดได้รับแสงอย่างน้อย 15-20 นาทีต่อวัน
•  2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ตามปกติจะมีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรม
แต่ในระยะที่เห็ดพัฒนาเป็นดอก
ถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงก็จะทำให้ดอกเห็ดผิดปกติได้
ดังนั้นควรทำให้โรงเรือนมีอากาศถ่ายเทได้บ้าง
•  3. ความชื้นของอากาศ
มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมอย่างมาก
โดยเฉพาะ ระยะเปิดดอกเห็ดนางรมต้องการความชื้นค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 %
จึงควรรดน้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน
•  4. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดนางรมอย่างมาก
เห็ดนางรมจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอุณหภูมิ 24-33 องศาเซลเซียส
จากการศึกษาพบว่าถ้าก้อนเชื้อได้ผ่านอุณหภูมิต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 18-21 วัน ก่อนนำมาเปิดดอกที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียส
จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางรม

ในการเพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติกนั้น ผู้ผลิตสามารถนำเอาวัสดุเหลือ ใช้ในท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดได้ เช่น
ฟางข้าวสับ ซังข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะสามารถหาได้ง่าย
สะดวกในการบรรจุ และสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหมัก
สำหรับสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมนั้นมีหลายสูตร คือ
•  สูตร 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %
•  สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม
แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 3-5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %
•  สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ส่วนโดยปริมาตร รำละเอียด 8
ส่วนโดยปริมาตร แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 2-3 ส่วนโดยปริมาตร กากถั่ว 2
ส่วนโดยปริมาตร หินปูน 2-3 ส่วนโดยปริมาตร น้ำสะอาด 70-75 %

หมายเหตุ ในการเลือกใช้สูตรต่างๆ
นั้นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตด้วย การเพิ่มปริมาณของอาหารเสริมมากๆนั้น ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มผลผลิตก็ตาม
แต่โอกาสที่ก้อนเชื้อจะเสียหายหรือ ถูกทำลายจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นก็มีมากเช่นกัน


ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ


1. นำส่วนผสมต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. เติมน้ำลงไปผสม ควรผสมให้ความชื้นกระจายให้ทั่วสม่ำเสมอ
ทดสอบให้ได้ความชื้นประมาณ 65-75 % โดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดู
ถ้ามีน้ำซึมออกมาแสดงว่าชื้นเกินไปให้เติมขี้เลื่อยลงไป
ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือออก ส่วนผสมจะจับกันเป็นก้อนและแตกออก 2-3
ส่วนแสดงว่าใช้ได้

3. บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ถุงละประมาณ 8-10 ขีด
อัดให้แน่นพอประมาณใส่คอขวดพลาสติก หุ้มด้วยสำลีและกระดาษ

4. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)นาน 3-4 ชั่วโมง

5. หลังจากนึ่งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่เชื้อลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มืดและอุณหภูมิสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส
เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุงประมาณ 3-4 สัปดาห์

6. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมจะ
เจริญเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนต่อไป ดูรายละเอียด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม
ทำได้ 4 วิธี คือ


1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง โดยการดึงคอขวดออก
พร้อมกับม้วนปากถุงลงไปจนถึงก้อนเชื้อ แล้วนำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือน
ข้อเสียของการเปิดถุงโดยวิธีนี้คือ โอกาสที่น้ำจะขังในถุงและทำให้ก้อนเชื้อเสียมีมาก

2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ด วิธีนี้มีข้อเสียคล้ายกับวิธีแรก


3. การกรีดปากถุงโดยใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงเป็น 4 แนว แล้วนำไปวางตั้งหรือแขวนในแนวตั้ง ข้อเสีย คือ
เปลืองเนื้อที่ในการวางก้อนเชื้อ

4. ดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวางเรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดียว
เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะประหยัดเนื้อที่ภายในโรงเรือนและน้ำไม่ขังในก้อนเชื้อ
ดูรายละเอียด การเปิดดอกเห็ดนางรม-ฮังการี

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

การปักชำ

การปักชำ


การปักชำ หมายถึง การนำส่วนต่างๆของพืชด้วยการตัดมาปักชำในดินหรือวัสดุเพาะเพื่อให้ได้ต้นใหม่ โดยการเกิดรากแขนงบริเวณโคนกิ่งที่ปักชำ

การปักชำแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. การปักชำกิ่ง
• การปักชำกิ่งแก่ เป็นวิธีที่ใช้กับไม้พลัดใบมากที่สุด โดยใช้กิ่งแก่ที่ไม่มีใบหรือตาที่กำลังแตกใหม่ กิ่งมีลักษณะสมบูรณ์ ไม่เหี่ยวแห้ง ตัดกิ่งยาวประมาณ 15-20 ซม. เป็นรูปปากฉลามเฉียงประมาณ 45-60 องศา ทั้งด้านบน และด้านล่าง ด้านบนตัดให้ห่างจากข้อหรือตากิ่งสุดท้ายยาวประมาณ 1-1.5 ซม.

• การปักชำกิ่งปานกลางหรือกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน เป็นวิธีที่ใช้กับไม้เนื้อแข็งที่ไม่พลัดใบหรือไม้ผลัดใบ ด้วยการตัดกิ่งที่ไม่แก่เต็มที่ กิ่งมีลักษณะอวบ สีกิ่งมีสีไม่เข้มมาก กิ่งมีความสมบูรณ์ ไม่เหี่ยว ไม่เป็นโรค กิ่งอาจมีใบติด 2-3 ใบ สำหรับพืชบางชนิดหรือใช้กิ่งที่ไม่มีใบติด ส่วนการตัดจะตัดในลักษณะเดียวกันกับการปักชำโดยใช้กิ่งแก่

• การปักชำกิ่งอ่อน เป็นวิธีที่นิยมใช้สำหรับการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ด้วยการตัดกิ่งอ่อน กิ่งมีลักษณะสมบูรณ์ อาจมียอด และใบติดหรือไม่มีก็ได้ ยอดที่ติดควรเจริญเติบโตดี ไม่เป็นโรค ตัดกิ่งหรือปลายยอดยาว 5-10 ซม. ตัดในลักษณะที่กล่าวข้างต้น ส่วนพืชบางชนิดที่ต้องการปักชำโดยมีใบ และยอดติดให้ตัดที่โคนกิ่งเพียงข้างเดียว

• การปักชำกิ่งไม้เนื้ออ่อน เป็นวิธีที่ใช้สำหรับพืชบางชนิด ส่วนมากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีลักษณะกิ่งหรือลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ฤาษีผสม เบญจมาศ คาร์เนชั่น การเลือก และการตัดกิ่งจะใช้วิธีการเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น


2. การปักชำราก เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม มักใช้กับพืชบางชนิดที่แตกหน่อตามกิ่งรากหรือมีตาเกิดตามรากพบมากในพืชน้ำหรือพืชที่เป็นเครือ เช่น บัว มันบางชนิด เป็นต้น ซึ่งควรเลือกรากที่มีตาหรือหน่อติดมาด้วย

3. การปักชำใบ เป็นวิธีที่ใช้กับไม้ที่มีใบลักษณะหนาหรืออวบน้ำ มักใช้มากสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ โดยราก และยอดจะแตกออกบริเวณโคนก้านใบเหนือฐานรอยตัด โดยเฉพาะบริเวณของเส้นใบ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

• การปักชำแผ่นใบ ทั้งใบที่มีตายอด และใบที่ไม่มีการแตกตายอด ด้วยการตัดใบเป็นแผ่นๆ และนำมาปักชำ เช่น ต้นคว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น

• การปักชำก้านใบ โดยใช้ใบที่มีก้านใบติดอยู่นำมาปักชำ โดยให้ส่วนก้านใบชำลงดิน เช่น ใบเพปเพอโรเมีย ใบมะนาว เป็นต้นการตัดจะใช้วิธีตัดให้ชิดโคนก้านใบมากที่สุด


4. การปักชำใบที่มีตา เป็นวิธีที่ใช้กับพืชพืชเนื้ออ่อนพวกไม้ประดับ และพืชเนื้อแข็งบางชนิด เช่น โกศล ยางอินเดีย เป็นต้น ด้วยการตัดกิ่งด้านล่าง และด้านบนของตา และยอดที่มีใบติดมาด้วย

การปักชำ
• วัสดุ อุปกรณ์
– กรรไกรตัดกิ่ง
– ดิน และวัสดุเพาะ
– กระถางดินเผาหรือพลาสติกหรือวัสดุไม่ได้ใช้ต่างๆ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก เป็นต้น
– ยาป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทน เบนเลท เป็นต้น
– ฮอร์โมนเร่งราก เช่น ออกซิน เป็นต้น

• การเตรียมดิน และวัสดุเพาะ
ดินที่ใช้ผสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ด้วยการผสมกับวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุ๋ยมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับวัสดุ 2:1 หรือ 1:1

เมื่อเตรียมวัสดุเพาะเสร็จให้บรรจุใส่กระถางดินเผาหรือพลาสติก หรืออาจก่ออิฐบล็อกกั้นเป็นแปลงเพาะชำหรือทำการยกร่องแปลงสูงด้วยการใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้

• วิธีการปักชำ
ก่อนทำการปักชำกิ่งทุกชนิดให้กรีดบริเวณโคนกิ่งยาว 1-2 ซม. ตามแนวยาว 1-2 ด้าน และแช่ฮอร์โมนเร่งราก และยาป้องกันเชื้อราเสียก่อนด้วยการจุ่มโคนกิ่งปักชำตามระยะโคนกิ่งที่ปักชำในดินนาน 10-30 นาที
– การปักชำกิ่ง จะใช้วิธีการเสียบกิิ่งลึกประมาณ 5-10 ซม. ขึ้นอยู่กับความยาวของกิ่ง และชนิดพืช
– การปักชำราก จะใช้วิธีการชำในลักษณะการปักชำกิ่งหรือการชำโดยการกลบทั้งราก
– การปักชำใบ จะใช้วิธีปักชำใบบางส่วนหรือการชำก้านใบลงดินโดยมีใบบางส่วนอยู่พื้นเหนือดิน
– การปักชำใบที่มีตา จะใช้วิธีการปักชำเฉพาะส่วนที่เป็นโคนกิ่งที่มีตาให้ฝังลงดิน โดยส่วนใบหรือตาจะพ้นเหนือดินด้านบน

• การดูแลรักษา
การให้น้ำจำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น โดยระวังไม่ให้น้ำมากเกินไปจนน้ำท่วมขังหรือดินเปียกมาก เพราะอาจทำให้กิ่งเน่าได้ง่าย ส่วนการใส่ปุ๋ยไม่จำเป็นในระยะแรก แต่อาจใส่ปุ๋ยก่อนระยะย้ายกล้าออกปลูกประมาณ 1-2 อาทิตย์ ด้วยการละลายปุ๋ยหรือใช้ปุ๋ยน้ำ สูตร 16-20-0


การเกิดราก
การเกิดรากของวิธีการปักชำ พืชจะกระตุ้นให้เกิดรากบริเวณเส้นใยของกิ่ง ก้านใบ และใบ แทงออกมาเป็นรากแทนในสภาวะความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยรากที่เกิดอาจเกิดมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นใยของกิ่ง และการกระตุ้น เช่น การกรีดโคนกิ่ง การแช่ฮอร์โมน เป็นต้น